มหาวิทยาลัย

ทำไมนอร์ทกรุงเทพต้องส่งเสริมให้แต่งกายถูกระเบียบ

แต่งกายถูกระเบียบ ได้เปรียบและดูดี ปลอดภัย ประหยัด สามัคคี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ส่งเสริมเรื่องบุคลิกภาพของนักศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ คือ

  1. การแต่งกายถูกระเบียบจะส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี
  2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและ ไม่เกิดการแข่งขันในการแต่งตัวตามแฟชั่น
  3. การแต่งกายด้วยเครื่องแบบมหาวิทยาลัยที่ถูกต้องก่อให้เกิดความสามัคคีและความเป็นหมู่คณะแก่ผู้ที่พบเห็น
  4. สร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเองและทรัพย์สิน

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ สอนให้เป็นมืออาชีพอย่างไร

ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยท่านอธิการบดีจะเน้นให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพสอนนักศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือที่เรียกว่า Active Learning ซึ่งทำให้นักศึกษาทุกคนจะมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถแสดงความเห็น ซักถามข้อสงสัยที่ยังไม่เข้าใจผ่านการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักศึกษาสามารถคิด วิเคราะห์ และประเมินผลได้อย่างเป็นมืออาชีพ

นักศึกษา

ขั้นตอนการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารทำอย่างไร

  1. นักศึกษารับหมายเรียก (สด.35) ชายไทยที่อายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปรับหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาที่ขึ้นทะเบียนทหารไว้
  2. เขียนใบคำร้องขอผ่อนผันทหาร
    • นักศึกษาขอใบคำร้องขอผ่อนผันได้ที่แผนกวินัยและกีฬา
    • ส่งไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม ของแต่ละปี
  3. ยื่นใบคำร้องฯพร้อมหลักฐาน
    • สำเนาหนังสือ สด.9 จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาหมายเรียก สด.35 จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาหนังสือ สด.43 (ถ้าเคยผ่อนผันมาจากที่อื่น) จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาทะเบียน จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาบัตรนักศึกษา จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา จำนวน 3 ชุด
    • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) จำนวน 3 ชุด
  4. ตรวจสอบเอกสาร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติ นักศึกษาที่มีสิทธิผ่อนผันทหาร เบื้องต้น
  5. อธิการบดีลงนาม
    • อธิการบดีลงนามหนังสือนำและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิผ่อนผันฯ
    • นำส่งเอกสารขอผ่อนผันฯต่อผู้ว่าราชจังหวัด แต่ละจังหวัด
  6. ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา อนุมัติหรือไม่อนุมัติ แล้วแจ้งต่อมหาวิทยาลัย และแต่ละอำเภอตามภูมิลำเนาของนักศึกษา
  7. นักศึกษาตรวจสอบรายชื่อกับทางสัสดีอำเภอ ก่อนถึงวันตรวจเลือก 2 สัปดาห์
  8. นักศึกษาไปรายงานตัว ตามหมายเรียก สด.35 นักศึกษาจะได้รับ สด.43 ไว้เป็นหลักฐาน

หมายเหตุ : ส่งเอกสารครั้งเดียวใช้ได้จนนักศึกษาเรียนจบ แต่ต้องไปรับหมายเรียกและไปรายงานตัว ตามหมายเรียกทุกปี

ขั้นตอนการสมัครนักศึกษาวิชาทหารทำอย่างไร

การรับสมัคร

  1. รับสมัครประมาณเดือนมิถุนายน
  2. ส่งหลักฐานการรายงานตัว
  3. ตรวจสอบเอกสาร
  4. รายงานตัวเข้าฝึกวิชาทหาร ประมาณเดือนสิงหาคม

หลักฐานการรายงานตัว

  1. แบบ รด.๒
  2. คำร้องรองของสถานศึกษาวิชาทหาร
  3. คำยินยอม บิดา/มารดา หรือผู้ปกครองตามกฏหมาย
  4. รูปถ่ายขนาด 3×4 ซม. (แต่งเครื่องแบบ นศท.)
  5. หนังสือรับรองการฝีกวิชาทหาร (กรณีโอนย้ายฯ)
  6. หนังสือรับรองการขอรอรับสิทธิ (กรณีขอรับสิทธิ)
  7. สำเนาบัตรประชาชน
  8. สำเนาบัตรนักศึกษาวิชาทหาร
  9. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี)

งานทะเบียน

การขอกลับเข้าศึกษา ขอคืนสภาพนักศึกษาทำอย่างไร

  1. นักศึกษารับคำร้องขอกลับเข้าศึกษา / ขอคืนสภาพนักศึกษา ที่แผนกทะเบียนฯ โดยกรอกรายละเอียด และแนบใบแสดงผลการเรียน
  2. ผ่านความเห็นชอบจาก หัวหน้าสาขา คณบดี และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการอนุมัติ
  3. ส่งคำร้องพร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใบลงทะเบียนที่แผนกทะเบียนฯ

กรณีนักศึกษาที่ถูกจำหน่ายรายชื่อ/พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว และต้องการขอกลับเข้าศึกษาต่อ ให้ดำเนินการดังนี้

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องขอกลับเข้าศึกษา / ขอคืนสภาพนักศึกษา ที่แผนกทะเบียนฯ โดยกรอกรายละเอียด และแนบใบแสดงผลการเรียน
  2. ผ่านความเห็นชอบจาก หัวหน้าสาขา และคณบดี รองอธิการฝ่ายวิชาการ และการเงิน
  3. ชำระเงินค่าคืนสภาพนักศึกษาตามอัตราที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดที่แผนกการเงิน
  4. ส่งคำร้องพร้อมแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย คำร้องขอกลับเข้าศึกษา / ขอคืนสภาพนักศึกษา ใบเสร็จค่าคืนสภาพนักศึกษา และใบลงทะเบียนที่แผนกทะเบียนฯ
  5. นักศึกษาติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าลงทะเบียน

ไฟล์แนบ : ใบคำร้องขอกลับเข้าศึกษา ขอคืนสภาพนักศึกษา

การขอผ่อนผันพ้นสภาพเป็นนักศึกษาทำอย่างไร

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องผ่อนผันพ้นสภาพเป็นนักศึกษา พร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบพร้อมแนบสำเนาใบแสดงผลการเรียน
  2. ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดีอนุมัติ
  3. นักศึกษาส่งคำร้องผ่อนผันพ้นสภาพเป็นนักศึกษา พร้อมเอกสารแนบ ส่งแผนกทะเบียนฯ

หมายเหตุ

  • สำหรับนักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.50 ยกเว้นเมื่อสิ้นภาคการศึกษาแรกที่เข้า
  • สำหรับนักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.75 สองภาคการศึกษาติดต่อกัน โดยไม่นับรวมภาคการศึกษาแรกที่เข้า

การขอย้ายคณะ ย้ายสาขา ย้ายหลักสูตร ย้ายภาคเรียน ทำอย่างไร

  1. นักศึกษารับคำร้องขอย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร/ภาคเรียน ที่แผนกทะเบียน หรือ Download ได้ที่หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย โดย
    • กรอกรายละเอียดในคำร้องให้ครบถ้วน
    • แนบเอกสารใบผลการเรียน (ใบเกรด)
  2. นักศึกษาจะต้อง
    • นักศึกษาขอความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดี คณะเดิม
    • นักศึกษาขอความเห็นชอบจากหัวหน้าสาขา และคณบดี คณะใหม่
      (หัวหน้าสาขาวิชาใหม่ต้องจัดรายวิชาลงทะเบียนให้นักศึกษา)
  3. ชำระเงินค่าย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร/ภาคเรียน ที่แผนกการเงิน ตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  4. ส่งเอกสารที่แผนกทะเบียนฯ ประกอบด้วย
    • คำร้องขอย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร/ภาคเรียน ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน
    • ใบผลการเรียน (ใบเกรด)
    • ใบสำคัญรับเงินค่าย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร/ภาคเรียน

หมายเหตุ

  • นักศึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จและส่งคำร้องที่แผนกทะเบียนฯ ก่อนเปิดภาคการศึกษาถัดไป
  • ภายหลังจากขอย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร เรียบร้อยแล้วให้ นักศึกษาดำเนินการขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตต่อไป

การขอลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันทำอย่างไร

  1. นักศึกษาหาข้อมูลรายวิชาในสถาบันที่จะขอลงทะเบียนเรียน พร้อมสำเนาคำอธิบายรายวิชาที่ต้องการเรียนข้ามสถาบัน และสำเนาคำอธิบายรายวิชาของมหาวิทยาลัยฯ ที่เทียบเคียงกันได้ ขอรับคำร้องทั่วไป กรอกรายละเอียด แนบคำอธิบายรายวิชา และยื่นคำร้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดี
  2. ส่งคำร้อง และสำเนาคำอธิบายรายวิชาที่แผนกทะเบียนฯ
  3. แผนกทะเบียนฯ ออกหนังสือขออนุญาตเรียนข้ามสถาบันให้นักศึกษา ลงนามโดยอธิการบดี
  4. นักศึกษารับหนังสือขออนุญาตเรียนข้ามสถาบัน และนำส่งสถาบันที่จะไปลงทะเบียนเรียนด้วยตนเอง

หมายเหตุ : นักศึกษาติดตามผลการขอเรียนข้ามสถาบันภายใน 1 สัปดาห์ภายหลังยื่นคำร้อง

การขออนุมัติสำเร็จการศึกษาทำอย่างไร

ภายหลังประกาศผลสอบแล้วนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตรแล้วให้ดำเนินการดังนี้

  1. ขอรับคำร้องขออนุมัติสำเร็จการศึกษาและคำร้องขอคืนเงินค่าประกันความเสียหายคืน และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆที่แผนกทะเบียนพร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. ผ่านความเห็นชอบอาจารย์ที่ปรึกษาหัวหน้าสาขาคณบดี
  3. ยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบหนี้ค้างชำระจากเจ้าหน้าที่คณะห้องสมุด เจ้าหน้าที่สำนักกิจการนักศึกษาและเจ้าหน้าที่การเงิน
  4. คำร้องเงินค่าประกันความเสียหายให้ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่คณะ ห้องสมุด และสำนักกิจการนักศึกษา
  5. นักศึกษาส่งคำร้องขออนุมัติสำเร็จการศึกษาที่แผนกทะเบียนฯพร้อมเอกสารอื่นๆที่กำหนด
  6. นักศึกษาส่งคำร้องเงินค่าประกันความเสียหายคืนพร้อมแนบใบเสร็จที่แผนกการเงินเพื่อใช้เป็นเครดิตค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิตกรณีใบเสร็จสูญหายให้ใช้ใบแจ้งความแบบกับคำร้องแทน

หมายเหตุ

  • นักศึกษาที่ได้รับการเสนอขออนุมัติสำเร็จการศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระและภาระผูกพันใดๆกับทางมหาวิทยาลัยฯ
  • นักศึกษาจะได้รับเอกสารการศึกษาฉบับสมบูรณ์ภายหลังสภาอนุมัติสำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น ซึ่งมหาวิทยาลัยฯจะจัดทำให้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ
  • นักศึกษาที่ต้องการขอเอกสารการศึกษาฉบับรอสภาอนุมัติต้องยื่นคำร้องขอเอกสารที่แผนกทะเบียนพร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามที่มหาวิทยาลัยฯกำหนด
  • เอกสารที่ต้องส่งเพิ่มเติม
    • ใบตรวจสอบจบ
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • รูปถ่ายชุดครุยขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
    • แสตมป์ 5 บาท จำนวน 1 ดวง

การขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตภายใน กรณีนักศึกษาย้ายคณะ ย้ายสาขา ย้ายหลักสูตร ทำอย่างไร

  1. ภายหลังเรื่องขอย้ายคณะ/สาขา/หลักสูตร ได้รับอนุมัติแล้ว ให้ นักศึกษาขอรับคำร้องขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต พร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน และแนบใบแสดงผลการเรียน/ใบเกรดของรายวิชาที่จะขอเทียบโอน
  2. ยื่นคำร้องขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต และแนบใบแสดงผลการเรียนที่แผนกทะเบียนฯ
  3. แผนกทะเบียนฯ เสนอคณะ เพื่อให้ความเห็นชอบการเทียบโอนรายวิชา โดยเป็นวิชาที่สอบผ่าน และเกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ได้รับการเทียบโอน
  4. แผนกทะเบียนฯ บันทึกรายวิชาที่เทียบโอนได้ในระบบ

หมายเหตุ : นักศึกษาติดตามผลการเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิตภายใน 2 สัปดาห์หลังยื่นคำร้องที่แผนกทะเบียนฯ

การขอเทียบโอนรายวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตภายนอก กรณีเทียบจากสถาบันอื่น/จากภายนอก/นักศึกษาลาออกสมัครใหม่ เปลี่ยนรหัส ทำอย่างไร

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต พร้อมกรอกรายละเอียด
    • แนบสำเนาใบแสดงผลการเรียน/ใบเกรดของรายวิชาที่ขอเทียบโอน
    • แนบสำเนาคำอธิบายรายวิชาที่ต้องการขอเทียบฯ โดยต้องมีตราประทับของสถาบันและลงชื่อผู้มีอำนาจในสำเนาคำอธิบายรายวิช
  2. ยื่นคำร้องพร้อมใบแสดงผลการเรียนและคำอธิบายรายวิชาที่แผนกทะเบียนฯ
  3. แผนกทะเบียนฯ เสนอคณะเพื่อให้ความเห็นชอบการเทียบรายวิชา โดยรายวิชาทีเทียบโอนได้ต้องเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรและได้ระดับคะแนนตั้งแต่ C หรือ 2.00 ขึ้นไป
  4. แผนกทะเบียนฯ บันทึกรายวิชาที่เทียบโอนได้ในระบบ

หมายเหตุ : นักศึกษาติดตามผลการเทียบรายวิชา และโอนหน่วยกิตภายใน 3 สัปดาห์หลังยื่นคำร้องที่แผนกทะเบียนฯ

การขอเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนเรียนทำอย่างไร

  1. ขอรับใบเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนที่ธุระการคณะ และกรอกรายวิชาที่เพิ่ม, ถอน หรือเปลี่ยนกลุ่มเรียนให้ชัดเจนและถูกต้อง
  2. พบอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้ความเห็นชอบ และพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อลงนามอนุมัติ
  3. นักศึกษาทำการ เพิ่ม, ถอน หรือเปลี่ยนกลุ่มในระบบทะเบียนออนไลน์ด้วยตนเอง กรณีไม่สามารถดำเนินได้ให้ติดต่อแผนกทะเบียนฯ
  4. ติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าเพิ่ม ถอนรายวิชา หรือเปลี่ยนกลุ่มเรียน

หมายเหตุ : นักศึกษาต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากขอเปลี่ยนแปลงหลังพ้นช่วงกำหนดให้ยื่นคำร้องผ่าน อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชา คณบดี และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการอนุมัติ

การขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนประวัติทำอย่างไร

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องพร้อมกรอกรายละเอียด
  2. ส่งคำร้องพร้อมแนบเอกสารที่ใช้ประกอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่แผนกทะเบียนฯ
  3. เจ้าหน้าที่ทะเบียนเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบทะเบียนออนไลน์
  4. นักศึกษาตรวจสอบผลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบทะเบียนออนไลน์

การขอเอกสารการศึกษาทำอย่างไร

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องขอเอกสารการศึกษา หรือ Download ได้ที่หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยพร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. ชำระเงินค่าจัดทำเอกสารการศึกษา ที่แผนกการเงิน (ค่าธรรมเนียมจัดทำเอกสารการศึกษาฉบับละ 100 บาท)
  3. ส่งคำร้องขอเอกสารการศึกษา ที่แผนกทะเบียนฯ พร้อมรูปถ่ายนักศึกษา ขนาด 1 นิ้ว (ฉบับละ 1 รูป)

หมายเหตุ

  • นักศึกษาติดตามขอรับเอกสารการศึกษา ภายหลังยื่นเรื่องแล้ว 3 วันทำการ
  • นักศึกษาที่ขอเอกสารการศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระใดๆ กับทางมหาวิทยาลัยฯ

การดำเนินการสอบซ่อมทำอย่างไร

  1. นักศึกษากรอกรายละเอียดตรวจสอบรายวิชาที่ขอสอบซ่อมพร้อมแนบเอกสาร
  2. นักศึกษานำคำร้องโดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้า สาขาวิชา
  3. นักศึกษานำคำร้องขอสอบซ่อมไปชำระเงินค่าสอบซ่อมวิชาละ 500 บาท ที่แผนกการเงิน
  4. นักศึกษานำคำร้องมาให้แผนกมาตรฐานโดยผ่านความเห็นชอบจากประธานกรรมการดำเนินการสอบ
  5. นักศึกษาส่งคำร้องขอสอบซ่อมที่แผนกมาตรฐานการศึกษา พร้อมใบเสร็จชำระค่าสอบซ่อม
  6. แผนกมาตรฐานการศึกษาดำเนินการจัดตารางสอบซ่อม
  7. นักศึกษาติดตามเรื่องและประกาศตารางสอบซ่อม ตามระยะเวลาที่กำหนด

ดาวน์โหลด : คำร้องขอสอบซ่อม

การทำบัตรนักศึกษาสำหรับนักศึกษาใหม่ทำอย่างไร

มหาวิทยาลัยฯ จะกำหนดวันเวลา เพื่อให้นักศึกษามาถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวนักศึกษา และส่งสำเนา บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบรบ. ที่แผนกทะเบียนฯ เพื่อจัดส่งทำบัตรประจำตัวนักศึกษาที่ ธนาคารกรุงเทพ

หมายเหตุ : นักศึกษาใหม่เจ้าหน้าที่ธนาคารจะมาแจกบัตรประจำตัวนักศึกษาตามเวลาที่กำหนด หากนักศึกษาไม่มารับให้ไปติดต่อขอรับบัตรที่ ธนาคารกรุงเทพ (สาขาสะพานใหม่-ดอนเมือง)

การทำบัตรนักศึกษาใหม่กรณีบัตรเดิมสูญหาย เปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ทำอย่างไร

  1. นักศึกษาติดต่อ ธนาคารกรุงเทพ (สาขาสะพานใหม่-ดอนเมือง)
  2. นักศึกษาชำระเงินที่ธนาคารตามอัตราที่กำหนด
  3. นักศึกษาติดต่อขอรับบัตรประจำตัวนักศึกษาที่ ธนาคารกรุงเทพ (สาขาสะพานใหม่-ดอนเมือง)

การลงทะเบียนกรณีวิชามีเวลาสอบซ้อนกันทำอย่างไร

  1. ขอรับคำร้องขอสอบซ้อนพร้อมกรอกรายละเอียดวิชาที่สอบซ้อน พร้อมแนบเอกสารตารางเรียน ตารางสอบประจำภาคเรียน (รายวิชาที่ลงไปแล้ว)
  2. ผ่านความเห็นชอบของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดีอนุมัติ
  3. ส่งคำร้องให้เจ้าหน้าที่ทะเบียน เพื่อเพิ่มรายวิชาให้
  4. ติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าหน่วยกิต
  5. นักศึกษา ดูประกาศตารางสอบซ้อน หน้าห้องแผนกทะเบียนฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด

การลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ทำอย่างไร

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องขอลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ ที่แผนกทะเบียนฯ หรือ Download ได้ที่หน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย โดย
    • กรอกรายละเอียดในคำร้องให้ครบถ้วน
    • ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดีอนุมัติ
  2. นักศึกษา ส่งคำร้องขอลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์พร้อมใบลงทะเบียนให้เจ้าหน้าที่ทะเบียน เพื่อลงทะเบียนให้นักศึกษาต่อไป
  3. นักศึกษาติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าลงทะเบียน
  4. ติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระเงินค่าเพิ่ม, ถอนรายวิชา หรือเปลี่ยนกลุ่มเรียน

หมายเหตุ : กรณีนักศึกษาลงทะเบียนภาคการศึกษาสุดท้ายเพื่อจะสำเร็จการศึกษา และลงทะเบียนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต้องยื่นคำร้องให้ลงทะเบียนได้เลย

การลาพักการศึกษาทำอย่างไร

  • รับคำร้องขอลาพักการศึกษา (1 ครั้งต่อภาคการศึกษา) พร้อมกรอกรายละเอียดในคำร้องและแนบเอกสารใบผลการเรียน
  • ขอความเห็นชอบจากผู้ปกครอง อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดีอนุมัติ
  • ชำระเงินค่าลาพักการศึกษาที่แผนกการเงินตามอัตราที่มหาวิทยาลัยฯกำหนด
  • ยื่นเอกสารที่แผนกทะเบียนฯ ประกอบด้วยคำร้องขอลาพักการศึกษา ใบรายงานผลการศึกษาและใบสำคัญรับเงินค่าลาพักการศึกษา

หมายเหตุ

  • นักศึกษา ติดตามผลการลาพักการศึกษา ภายใน 2 สัปดาห์หลังยื่นคำร้อง
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาพักการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาจะได้รับเครดิตคืนค่าหน่วยกิต และค่าบำรุงการศึกษา
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาพักการศึกษาหลังเปิดภาคการศึกษา และอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกจะได้รับเครดิตคืนค่าหน่วยกิต
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาพักหลังเปิดเรียน และหลัง 2 สัปดาห์แรกจะไม่ได้รับยกเว้นการชำระเงินค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาอื่นๆ

การลาออกทำอย่างไร

  • นักศึกษารับคำร้องขอลาออก พร้อมคำร้องขอคืนเงินค่าประกันฯ กรอกรายละเอียด
  • ผ่านความเห็นชอบจากผู้ปกครอง อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา คณบดี และการเงิน
  • ส่งคำร้องที่แผนกทะเบียนประกอบด้วยคำร้องลาออก คำร้องค่าประกันของเสียหายคืน และใบเสร็จค่าประกันของเสียหายคืน หากสูญหายให้ใช้ใบแจ้งความแทน

หมายเหตุ

  • นักศึกษาติดตามผลการลาออก ภายใน 4 สัปดาห์หลังยื่นคำร้อง
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาออกก่อนเปิดภาคการศึกษาจะได้รับเครดิตคืนค่าหน่วยกิต และค่าบำรุงการศึกษา
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาออกหลังเปิดภาคการศึกษา และอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกจะได้รับเครดิตคืนค่าหน่วยกิต
  • นักศึกษาที่ลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว และขอลาออกหลังเปิดเรียน และหลัง 2 สัปดาห์แรกจะไม่ได้รับยกเว้นการชำระเงินค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาอื่นๆ
  • นักศึกษาที่เรื่องลาออกอนุมัติแล้ว แผนกทะเบียนจะส่งคำร้องขอคืนเงินค่าประกันฯ ให้แผนกการเงินเพื่อคืนเงินให้ นักศึกษาต่อไป

การแจ้งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาทำอย่างไร

นักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาให้ดำเนินการดังนี้

  1. นักศึกษาขอรับคำร้องแจ้งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาที่แผนกทะเบียนพร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
  2. ให้นักศึกษายื่นคำร้องภายใน 2 สัปดาห์หลังเปิดภาคการศึกษาที่นักศึกษาคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
  3. ให้นักศึกษาติดตามผลการตรวจสอบการคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาที่อาจารย์ที่ปรึกษาหรือที่แผนกทะเบียน

การเรียนข้ามวิชาบังคับก่อนทำอย่างไร

  • นักศึกษาขอรับคำร้องทั่วไป โดยกรอกรายละเอียดในคำร้องให้ครบถ้วน ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าสาขา และคณบดีอนุมัติ
  • นักศึกษายื่นคำร้องพร้อมใบลงทะเบียนรายวิชาที่ขอลงข้ามวิชาบังคับก่อนให้เจ้าหน้าที่ทะเบียนลงให้
  • นักศึกษาตรวจสอบรายวิชาในระบบทะเบียนออนไลน์/แผนกทะเบียนฯ
  • ติดต่อแผนกการเงินเพื่อชำระค่าหน่วยกิต

ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนทำอย่างไร

สำหรับนักศึกษาใหม่

ภาคเรียนที่ 1 แผนกทะเบียนฯ จะลงทะเบียนให้นักศึกษาตามแผนการเรียนปกติ (กรณีนักศึกษาเทียบโอนสาขาวิชาจะจัดรายวิชาให้และแจ้งแผนกทะเบียนฯ เพื่อลงทะเบียนให้นักศึกษา)
ภาคเรียนที่ 2 แผนกทะเบียนลงทะเบียนให้นักศึกษา โดยให้นักศึกษาแจ้งยืนยันการลงทะเบียนที่ แผนกทะเบียนตามขั้นตอน และภายในระยะเวลาที่กำหนด

สำหรับนักศึกษาเก่า

  • ขั้นตอนที่ 1 นักศึกษาขอรับใบลงทะเบียนที่ธุระการคณะ 2 ใบ และพบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อกำหนดรายวิชาลงทะเบียน อาจารย์ที่ปรึกษาลงนามอนุมัติ นักศึกษาเก็บใบลงทะเบียน 1 ใบ อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ใบ
  • ขั้นตอนที่ 2 นักศึกษาลงทะเบียนผ่านระบบทะเบียนออนไลน์ด้วยตนเอง และตรวจสอบผลการลงทะเบียนทุกครั้ง (ให้ศึกษาขั้นตอนการลงทะเบียนใน Website ของมหาวิทยาลัยฯ)
  • ขั้นตอนที่ 3 นักศึกษาใหม่ และนักศึกษาเก่า รับใบแจ้งหนี้ที่แผนกการเงิน
  • ขั้นตอนที่ 4 ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงเทพ และธนาคารไทยพาณิชย์

หมายเหตุ

  • นักศึกษาต้องดำเนินการลงทะเบียนตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด
  • กรณีนักศึกษา ไม่สามารถลงทะเบียนผ่านระบบทะเบียนออนไลน์ได้ ให้ติดต่อแผนกทะเบียนฯ ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดเท่านั้น

การรับสมัคร

ต้องใช้หลักฐานอะไรในการสมัครเรียนบ้าง

  1. ใบสมัครตามแบบของมหาวิทยาลัย 3 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3 ฉบับ
  3. สำเนาบัตรประชาชน 3 ฉบับ
  4. ใบแสดงผลการศึกษา (ใบ ร.บ.) ตัวจริง หรือใบรับรองว่าสำเร็จการศึกษาแล้วและสำเนา 3 ฉบับ
  5. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป

สมัครเรียนได้อย่างไร

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดรับสมัครนักศึกษาทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30 – 17:30 น. นักศึกษาที่สนใจสมัครเรียน สามารถเข้ามากรอกใบสมัครได้ที่

  • วิทยาเขตสะพานใหม่ 6/999 ซ.พหลโยธิน 52 ถ.พหลโยธิน เขตสายไหม กทม.10220 โทร 02-9727200 ต่อ 142 และ 144
  • วิทยาเขตรังสิต 59 หมู่ 2 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 โทร 02-5331000
  • ศูนย์รับสมัครนักศึกษาทั่วประเทศ

ห้องสมุด

เวลาเปิด – ปิด บริการของห้องสมุดปกติเวลากี่โมง

ห้องสมุดเปิดให้บริการ วันอังคาร – วันอาทิตย์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 8.30 – 17.30 น. ปิดให้บริการในวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตกฤษ์

ช่วงสอบกลางภาคและสอบปลายภาคห้องสมุดปิดไหมหรือมีเวลาบริการพิเศษเฉพาะช่วงสอบหรือไม่

ก่อนช่วงสอบ 1 อาทิตย์ จะเปิดให้บริการถึง 19.00 น.

ถ้าทำหนังสือหายต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณีทำหนังสือหายสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการคือ

  1. การแจ้งหนังสือหายกับเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ ยืม-คืน ณ ห้องสมุดที่เป็นเจ้าของตัวเล่มที่ทำหาย โดยเจ้าหน้าที่จะทำการ Note ในระบบห้องสมุดฯ ให้ เพราะหากหนังสือเกินกำหนดส่งแล้ว ค่าปรับนั้นก็จะได้หยุดถึงแค่วันที่คุณมาแจ้งหาย
  2. ต้องเจรจากับหัวหน้าห้องสมุดสาขา หรือบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสาขาว่าคุณจะสามารถหาตัวเล่มมาคืนโดยวิธีการจัดซื้อใหม่มาให้ได้หรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ คุณจะต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้คงจะต้องเข้ามาพูดคุยกัน

ทั้งนี้การทำหนังสือหาย คุณจะต้องดำเนินการเคลียร์ให้เรียบร้อย มิเช่นนั้นจะมีปัญหาเมื่อจะทำเรื่องจบการศึกษา เพราะคุณจะไม่สามารถทำเรื่องจบการศึกษาได้ เนื่องจากมีหนี้สินอยู่กับห้องสมุด

ถ้าหนังสือเกินกำหนด ยืมมาจากห้องสมุดวิทยาเขตสะพานใหม่ จะนำไปคืนที่ห้องสมุดวิทยาเขตรังสิตได้เปล่า และสามารถชำระค่าปรับได้ที่วิทยาเขตรังสิตได้เลยหรือไม่

สามารถนำหนังสือของห้องสมุดวิทยาเขตสะพานใหม่ ไปคืนที่ห้องสมุดวิทยาเขตรังสิตได้เลย หากหนังสือนั้นเกินกำหนดส่ง เจ้าหน้าที่ ณ ห้องสมุดวิทยาเขตรังสิต จะดำเนินการคิดค่าปรับให้โดยที่นักศึกษาไม่ต้องย้อนไปจ่ายค่าปรับที่ห้องสมุดวิทยาเขตสะพานใหม่