กำลังอัปโหลดงานวิจัย...



คลีนิควิจัย
ผู้ตั้งคำถาม

WAWIYADA
22 สิงหาคม 2557
ผู้เข่าชม 955 ครั้ง
คำตอบ 3 ครั้ง
การเลือกใช้สถิติ
ผู้ตอบคำถาม

admin
24  ส.ค. 2557 16:42:52

ศึกษาได้จากคำตอบในข้อ 6

ผู้ตอบคำถาม

admin
25  ส.ค. 2557 16:44:36

ขอโทษครับดูจากข้อ 5

ผู้ตอบคำถาม

admin
30  ส.ค. 2564 15:23:49

หลักในการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม
            ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่างานวิจัยที่ดีมีคุณภาพนั้นไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องเป็นงานวิจัยที่ต้องใช้สถิติที่ยากและซับซ้อนเท่านั้นแต่จะต้องเป็นงานวิจัยที่ใช้สถิติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับรายละเอียดของงานวิจัยนั้นๆ ได้แก่เป้าหมาย วัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย รวมทั้งทราบรายละเอียดของข้อมูลที่รวบรวม ลักษณะการวัดของตัว จึงจะสามารถพิจารณาเลือกสถิติได้อย่างเหมาะสมโดยจะต้องพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ก่อนอื่นนักวิจัยต้องทราบว่างานวิจัยที่กำลังจะทำนั้นจะทำกับใคร ประชากร หรือ กลุ่มตัวอย่าง เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะว่าเมื่อใดก็ตามที่เรากำลังศึกษา ประชากร ค่าที่ได้จากการศึกษาประชากรนั้นเราจะเรียกว่า พารามิเตอร์ ซึ่งเราจะสามารถสรุปผลที่ศึกษาได้ในทันทีว่างานวิจัยชิ้นนี้คำตอบคืออะไร เพราะสิ่งที่เราศึกษา คือ ประชากรทั้งหมด ดังนั้นคำตอบที่ได้ออกมาไม่ว่าจะเป็นอย่างไร มันคือ คำตอบของ ประชากร สามารถ สรุปได้ว่า สถิติที่ใช้ในการหาคำตอบก็คือ "สถิติเชิงพรรณนา"      หากเมื่อใดก็ตามที่เราทำวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วเราค่าที่ได้จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างนี้เราจะเรียกว่า ค่าสถิติ ซึ่งค่าสถิติตัวนี้เราจะได้มาจากการใช้ "สถิติเชิงพรรณนา"          

มาอธิบายเช่นเดียวกันกับการศึกษาจากประชากร แต่ "ค่าสถิตินี้เป็นค่าหรือเป็นคำตอบที่เราใช้ในการอธิบายกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น เรายังสรุปไปถึงประชากรไม่ได้"  ว่า "ประชากร จะมีคำตอบเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่าง"

2. จำนวนตัวแปรที่ทำการวิเคราะห์ว่ามีจำนวนตัวแปรอิสระและตัวแปรคามครั้งละกี่ตัว ซึ่งจำนวนตัวแปรนั้นมีผลต่อการเลือกสถิติที่ใช้ในการวิจัย

3.   ความมุ่งหมายของการวิจัย   การวิจัยต้องการรู้อะไร  จะต้องพิจารณาอะไรบ้าง  กล่าวคือ
            3.1   ต้องการทราบลักษณะ  หรือสภาพทั่วไปของปัญหา  ใช้สถิติการอธิบาย เป็นสถิติพื้นฐาน  เช่น  ร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าเฉลี่ย  และ  ค่าความแปรปรวน  เป็นต้น
              3.2   ต้องการหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ  โดยใช้   สถิติสหสัมพันธ์แบบ ต่างๆ  ขึ้นอยู่กับ  ลักษณะของข้อมูล
            3.3   ต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง  ต้องดูเงื่อนไขของกลุ่มตัวอย่างว่าจะใช้แบบใด  สถิติประเภทนี้  ได้แก่  t-test,    Z-test,   F-test,   Chi - Square  test

4. ข้อตกลงเบื้องต้น (assumtion) ของสถิติแต่ละตัว ซึ่งนักวิจัยต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมและต้องมีความเข้าใจในข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละตัวเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการเลือกใช้

5. ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นเป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดตัวแปรในระดับใด พิจารณาจากระดับการวัดของตัวแปรตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการวัดในระดับที่แตกต่างกัน จะต้องใช้สถิติที่อยู่ในระดับไม่เกินของระดับการวัดนั้นๆ เช่น

Lorem ipsum dolor sit amet.

X