กำลังอัปโหลดงานวิจัย...



การจดสิทธิบัติงานวิจัย

การจดลิขสิทธิ์

1. ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแตเพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผูสรางสรรคไดทําขึ้น โดยการแสดงออก ตามประเภทงานลิขสิทธิ์ตาง ๆ ลิขสิทธิ์ เปนผลงานที่เกิดจาการใชสติปญญา ความรูความสามารถและความวิริยะ อุตสาหะในการสรางสรรคงานให เกิดขึ้น ซึ่งถือวาเปน "ทรัพยสินทางปญญา"ประเภทหนึ่งที่มีคุณคาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจาของผลงานทางลิขสิทธิ์จึงควรไดรับความคุมครองตามกฎหมาย ลิขสิทธ เปนทรัพยสินประเภทที่สามารถ ซื้อ ขาย หรือโอนสิทธิกันได ทั ้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่น ๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทําเปนลายลักษณอักษร หรือ ทําเปนสัญญาใหชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางสวนก็ได 

2. ลิขสิทธิ์จะมีไดในงานตาง ๆ 9 ประเภท 

2.1. งานวรรณกรรม ไดแก หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ ปาฐกถา โปรแกรมคอมพิวเตอร 

2.2. งานนาฏกรรม ไดแก งานเกี่ยวกับการรํา การเตน การทําทา หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเปนเรื่องราว

การแสดงโดยวิธีใบ 

2.3. งานศิลปกรรม ไดแก งานจิตกรรม งานปฏิมากรรม งานภาพพิมพ งานสถาปตยกรรม งานภาพถายภาพประกอบ แผนที่โครงสราง งานศิลปประยุกต และรวมทั้งภาพถายและแผนผังของงานดังกลาว 

2.4. งานดนตรีกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับเพลง ทํานองและเนื้อรอง หรือทํานองอยางเดียว และรวมถึง

โนตเพลงที่ไดแยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล ว 

2.5. งานโสตทัศนวัสดุ เชน วิดีโอเทป แผนเลเซอรดิสก 

2.6. งานภาพยนตร 

2.7. งานสิ่งบันทึกเสียง เชน เทปเพลง แผนคอมแพ็คดิสก 

2.8. งานแพรเสียงและภาพ เชน งานที่นําออกเผยแพรทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน 

2.9. งานอื่นใดอันเปนงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร หรือแผนกศิลปะ

3. ผลงานที่ไมถือวามีลิขสิทธิ์ 

3.1. ขาวประจําวัน และขอเท็จจริงตาง ๆ ที่มีลักษณะเปนเพียงขาวสาร อันมิใชงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร หรือแผนกศิลปะ 

3.2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย 

3.3. ระเบียบ ขอบังคับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง และหนังสือโตตอบของกระทรวง ทบวง กรม หนวยงานของรัฐ หรือของทองถิ่น 

3.4. คําพิพากษา คําสั่ง คําวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ 

3.5. คําแปลและการรวบรวม ตามขอ 3.1 – 3.4 ซึ่งทางราชการจัดทําขึ้น 

4. การได มาซึ่งลิขสิทธิ์สิทธิ์ ในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันที นับตั้งแตผูสรางสรรคไดสรางสรรคผลงานโดยไมตองจด ทะเบียน ดังนั้น เจาของลิขสิทธิ์จึงควรที่จะปกปองคุมครองสิทธิ์ของตนเอง โดยการเก็บรวบรวมหลักฐานตาง ๆ ที่ได ทําการสรางสรรคผลงานนั้นขึ้น เพื่อประโยชนในการพิสูจนสิทธิ์ หรือความเปนเจาของในโอกาสตอไป  

5. ใครคือเจ าของลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์นอกจากจะเปนผูสรางสรรคงานแลว บุคคลอื่นอาจมีสิทธิ์ในงานที่สรางสรรค นั้นก็ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับขอเท็จจริงตางๆ ในการไดมาซึ่งลิขสิทธิ์ เชนการสรางสรรคงานรวมกัน การวาจ างใหสรางสรรค งาน การโอนสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ เปนตน ดังนั้นผูมีลิขสิทธิ์จะเปนบุคคล หรือกลุมบุคคล ตอไปนี้ 

5.1. ผูสรางสรรคงานขึ้นใหม ทั้งที่สรางสรรคงานดวยตนเองเพียงผูเดียว หรือผูสรางสรรคงานรวมกัน  

5.2. ผูสรางสรรคในฐานะพนักงาน หรือลูกจาง 

5.3. ผูวาจาง 

5.4. ผูรวบรวมหรือประกอบกันเขา 

5.5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหนวยงานอื่นใดของร ัฐหรือทองถิ่น 

5.6. ผูรับโอนลิขสิทธิ์

          5.7. ผูสรางสรรคซึ่งเปนคนชาติภาคีอนุสัญญาระหวางประเทศ เชน อนุสัญญากรุงเบอรน และประเทศในภาคีสมาชิกโองการคาโลก 

5.8. ผูพิมพโฆษณางานที่ใชนามแฝงหรือนามปากกกาที่ไมปรากฏชื่อผูสรางสรรค 

6. การคุมครองลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แตเพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ ตองานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังนี้ 

6.1. ทํ าซ้ํา หรือดัดแปลง 

6.2. การเผยแพรตอสาธารณชน 

6.3. ใหเชาตนฉบับ หรือสําเนางาน โปรแกรมคอมพิวเตอร โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร และสิ่งบันทึกเสียง

6.4. ใหประโยชนอันเกิดจากลิขสิทธิ์แกผูอื่น 

6.5. อนุญาตใหผูอื่นใชสิทธิ์ในการเชาซื้อ ดัดแปลง เผยแพรตอสาธารณชน และใหเชาตนฉบับ  6.6. อายุแหงการคุมครองลิขสิทธิ์ 

7. ผลของการคุมครองลิขสิทธิ์โดย ท ั่วไป การคุมครองลิขสิทธิ์ จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันทีที่มีการสรางสรรคผลงาน โดยความคุมครองนี้จะมีผลตลอดอายุของผูสรางสรรค และจะคุมครองตองไปอีก 50ป นับตั้งแตผูสรางสรรค เสียชีวิต หากแตมีงานบางประเภทจะมีการคุมครองที่แตกตางกันไป โดยสรุปดังนี้ 

7.1. ในงานทั่วไป ลิขสิทธิ์ จะม ีอยูตลอดอายุของผูสรางสรรค และจะมีตอไปอีก 50ป นับตั้งแตผูสรางสรรคถึง แกความตาย กรณีเปนผูสรางสรรครวม ก็ใหนับจากผูสรางสรรคคนสุดทายถึงแกความตาย กรณีเปนนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะ มีอายุ 50ป นับตั้งแตที่ไดสรางสรรคงานนั้นขึ้น กรณีผูสรางสรรคใชนามแฝง หรือไมปรากฏชื่อผูสรางสรรค ลิขสิทธิ์มี อายุ 50ป นับตั้งแตไดสรางสรรคงานนั้นขึ้น 

7.2. งานภาพถาย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร หรืองานแพรเสียงแพรภาพ ลิขสิทธิ์มีอายุ 50ป นับแตได สรางสรรคงานขึ้น 

7.3. งานที่สรางสรรค โดยการวาจาง หรือตามคําสั่งใหมีอายุ 50ป  นับแตไดสรางสรรคงานขึ้น 

7.4. งานศิลปประยุกต ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 25ป นับแตไดสรางสรรคงานขึ้น กรณีที่ไดมีการโฆษณางานเหลานั้น

ในระหวางระยะเวลาดังกลาว ใหลิขสิทธิ์มีอายุตอไปอีก 50 ป นับตั้งแตโฆษณาครั้งแรก ยกเวนในกรณ ีงานศิลปประยุกต ใหลิขสิทธิ์มีอายุตอไปอีก 25 ป นับแตโฆษณาครั้งแรก 

8. ประโยชนของลิขสิทธิ์ 

8.1. ประโยชนของเจาของลิขสิทธิ์ เจาของลิขสิทธิ์จะไดรับความคุมครองตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต

เพียงผูเดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ไดสรางสรรคขึ้น หรือผลงานตามขอใดขอหนึ่งดังที่กลาวไวขางตน ดังนั้น เจาของล ิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ทําซ้ํา หรือดัดแปลง จําหนาย ใหเชา คัดลอก เลียนแบบ ทําสําเนา การทําใหปรากฏตอ สาธารณชน หรืออนุญาตใหผูอื่นใชสิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแตบางสวนก็ได โดยเจาของลิขสิทธิ์ยอมไดรับคาตอบแทน ที่เปนธรรม 

8.2. ประโยชนของประชาชนหรือผูบริโภค การคุมครองและพิทักษสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์มีผลใหเกิด แรงจูงใจแกผู สรางสรรคผลงาน ที่จะสรางสรรคผลงานท ี่เปนประโยชน มีคุณคาทางวรรณกรรมและศ ิลปกรรม ออกสู ตลาดใหมากขึ้น สงผลใหผูบริโภคไดรับความรู ความบันเทิง และไดผลงานที่มีคุณภาพ 

9. การแจงขอมูลลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เปนสิทธิ์ที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสรางสรรคผลงานโดยไมตองจดทะเบียน อยางไรก็ตาม กรมทรัพยสินทางปญญา กระทรวงพาณิชย ไดรับทําใหมีการแจงขอมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใชเปนฐานขอมูลและรวบรวมขอมูล เบื้องต น เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งจะเปนองคประกอบหนึ่งในการพ ิทักษและคุมครองสิทธิ์เจาของลิขสิทธิ์ นอกจากนี้แลวยัง เปนแหลงขอมูลสําหรับผูตองการขออนุญาตใชลิขสิทธิ์ สามารถตรวจค นเพื่อประโยชน ในการติดตอธุรกิจกับเจาของ ลิขสิทธ ิ์ดวยการ แจงขอมูลลิขสิทธิ์ไมไดหมายความวาจะทําใหผูแจงไดรับสิทธิ์ในผลงาน นั้น หรือเปนเจาของลิขสิทธิ์ ดังนั้น การแจงขอมูลลิขสิทธิ์จะไมกอใหเกิดสิทธิ์ใด ๆ เพิ่มขึ้นจากสิทธิ์ที่มีอยูเดิมของเจาของลิขสิทธิ์ที่แทจริง 

ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

1. การตัดสินใจเลือกรูปแบบการขอรับความคุ้มครอง
          เมื่อได้ทำการประดิษฐ์คิดค้นหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นมา และประสงค์จะขอรับความคุ้มครองอาจจะมีปัญหาว่าควรจะขอรับความคุ้มครองในรูปแบบใดจึงเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองควรที่จะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
          1. สิ่งที่คิดค้นขึ้นมานั้นเป็นการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ในกรณีนี้สามารถที่จะพิจารณาได้ง่ายๆ ว่า ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นที่ก่อให้เกิดลักษณะใหม่ที่มีหน้าที่การทำงาน ประโยชน์ใช้สอยก็สามารถสรุปได้ทันที่ว่าเป็นการประดิษฐ์ แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นการคิดค้นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ หรือลวดลายที่ปรากฏอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สามารถสรุปได้ว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งควรที่จะยื่นขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
          ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์ ก็ต้องสินใจอีกว่าควรที่จะขอรับความคุ้มครอง สิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตร ในกรณีนี้ ผู้ขอความคุ้มครองควรที่จะคำนึงถึงต่อไปว่า สิงประดิษฐ์นั้นมีเทคนิคที่ซับซ้อนหรือไม่ หากมีเทคนิคที่ซับซ้อนก็ควรที่จะขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขที่ว่า จะต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้นั่นคือจะต้องดูว่าลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ควรที่จะอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
          2. องค์ประกอบอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า อายุการคุ้มครอง ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นต้น ซึ่งผู้ขออาจจะนำมาประกอบการพิจารณาเลือกว่าจะยื่นคำขอแบบใด


2. ขั้นตอนการจดทะเบียน

          สิทธิบัตรการประดิษฐ์
          1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 500 บาท ที่ซึ่งคำขอจะต้องประกอบด้วย
             1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก
             1.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ที่มีหัวข้อครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
             1.3 ข้อถือสิทธิ
             1.4 บทสรุปการประดิษฐ์
             1.5 รูปเขียน ( ถ้ามี )
             1.6 เอกสารอื่นๆ ( ถ้ามี ) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
             รายการที่ 1.2-1.6 ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมขึ้นเองในกระดาษ ขนาด A4
          2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือ
ตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่า จะต้องดำเนินการภายใจ 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
          3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม
พร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
          4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาเป็นเงิน 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งสองครั้งๆ ละ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ และให้จัดส่งคำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุดอีกหนึ่งชุดพร้อมทั้งส่งคำแปลข้อถือสิทธิ บทสรุปการประดิษฐ์เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านกรณีที่ผู้อื่นเห็นว่าสิ่งที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือผู้ขอไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์แอบเอาของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์มาจดทะเบียน
          5. เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 250 บาท โดยใช้แบบ สป/อสป/005-ก ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศโฆษณา หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
          6. ภายหลังจากมีการขอให้ตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นเอกสารว่า เคยมีสิ่งประดิษฐ์เดียวกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ( รวมทั้งตรวจค้นเอกสารจากต่างประเทศด้วย ) ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนเป็นเงิน 500 บาท และออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป หากไม่ถูกต้องจะยกคำขอ

          สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
          1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงิน 250 บาทที่ซึ่งคำขอต้องประกอบด้วย
             1.1  แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/อสป/001-ก ซึ่งมี 2 หน้า
             1.2 คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ ( ถ้ามี )
             1.3 ข้อถือสิทธิ
             1.4 รูปเขียน 
             1.5 เอกสารอื่นๆ ( ถ้ามี ) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
             รายการที่ 1.2-1.5 ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมขึ้นเองในกระดาษ ขนาด A4
         2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้วถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่าจะต้องดำเนินการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
         3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
         4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาเป็นเงิน 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งสองครั้งๆ ละ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ และให้จัดส่งคำขอรับสิทธิบัตรชุดล่าสุดอีกหนึ่งชุดเพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน กรณีที่ผู้อื่นเห็นว่าสิ่งที่ยื่นขอสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือผู้ขอไม่ได้เป็นผู้คิดค้นแอบเอาของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์มาจดทะเบียน
         5. กรณีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้ ผู้ขอไม่ต้องยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ซึ่งจะใช้เฉพาะกรณีการประดิษฐ์เท่านั้น เมื่อประกาศโฆษณาครบ 90 วันแล้วเจ้าหน้าที่จะทำการสืบค้นว่าเคยมีแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกันแพร่หลายมาก่อนหรือไม่ ถ้าคำขอถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย จะแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนเป็นเงิน 500 บาท และออกสิทธิบัตรให้ผู้ขอต่อไป หากไม่ถูกต้องจะยกคำขอ

         
        อนุสิทธิบัตร

        1. การยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร จะต้องยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียมที่ซึ่งคำขอจะต้องประกอบด้วย
           1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรแบบ  สป/สผ/อสป/001-ก
           1.2 รายละเอียดการประดิษฐ์ ที่มีหัวข้อครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
           1.3 ข้อถือสิทธิ
           1.4 บทสรุปการประดิษฐ์
           1.5 รูปเขียน (ถ้ามี)
           1.6 เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น หนังสือโอนสิทธิ สัญญาการจ้าง หนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคลเป็นต้น
           รายการที่ 1.2-1.6 ผู้ขอจะต้องเตรียมขึ้นเองในกระดาษขนาด เอ 4
        2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนของผู้ขอทราบ เพื่อให้ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้จะมีเงื่อนเวลาว่า จะต้องดำเนินการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง หากดำเนินการไม่ทันก็สามารถขอผ่อนผันได้ หากพ้นระยะเวลาจะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอ
        3. ในการแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอจะต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก  ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียม
        4. ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว จะรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอมาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนและออกอนุสิทธิบัตร และประกาศโฆษณาเป็นเงิน 500 บาท ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง สองครั้งหากครั้งที่สองไม่มาตามแจ้ง จะถือว่าผู้ขอละทิ้งคำขอละทิ้งคำขอ ในการประกาศโฆษณาจะประกาศในหนังสือประกาศโฆษณาอนุสิทธิบัตร เป็นเวลา 1 ปี
        5. เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสีย สามารถที่จะขอให้ตรวจสอบอนุสิทธิบัตรว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ภายใน 1 ปีนับจากวันทีประกาศโฆษณา โดยใช้แบบ สป/อสป/005-ก หากปรากฏว่า อนุสิทธิบัตรนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายก็จะถูกเพิกถอนต่อไป


3. สถานที่และวิธีการขื่นขอจดเบียน
        สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน

        สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (ชั้น 3) สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ. สนามบินน้ำ ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่
        วิธีการยื่นขอจดทะเบียน
        1. ยื่นขอโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
        2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม โดยชำระทางธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

ระบบการบริหารงานการจดสิทธิบัตร

ข้อมูล : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ https://www.ipthailand.go.th/

กราฟแสดงสถิติฐานข้อมูลงานวิจัย

×

Lorem ipsum dolor sit amet.

X